วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กรณ์ ณรงค์เดช ดนตรี 'ต่อยอด' อาณาจักรเคพีเอ็น


วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 05:00 โดย : ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์

กรณ์ ณรงค์เดช ทายาท KPN ปรับทัพ รุก-รับ ปรับลุคเวทีประกวด KPN Awards เพื่อปั้นศิลปิน พร้อมเปิดค่ายเพลงน้องใหม่ บุกตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ธุรกิจเพลงเปรียบเสมือนกับจิ๊กซอว์ชิ้นหนึ่งที่จะช่วยขยายภาพธุรกิจด้านเอ็นเตอร์เทนเมนท์ของเครือให้ครบวงจร

"กรณ์ ณรงค์เดช" ทายาทคนสุดท้องของตระกูล "ณรงค์เดช" บุตรชายคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช และ ดร.เกษม ณรงค์เดช นำความเปลี่ยนแปลงสู่ KPN มากมาย

มีทั้งการเดินเกมแบบรุก-รับ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผ่านการก่อตั้งบริษัทใหม่ KPN Awards รองรับช่องทางขยายธุรกิจเพลงไปยังต่างประเทศ

บิสิเนสโมเดลที่เขาคิดรอบด้าน ตั้งแต่ก่อตั้งค่ายเพลงเพื่อรองรับศิลปิน และผลิตศิลปินด้วยการจัดประกวดร้องเพลงชิงถ้วยพระราชทาน เวที KPN Award ที่ปรับลุคใหม่หมด เพื่อให้ได้ศิลปินที่ตอบโจทย์ใหม่ของธุรกิจ

ก่อนหน้าที่กรณ์จะรับหน้าที่ดูแล KPN Awards เขาคือ ผู้ที่รับผิดชอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มเคพีเอ็น ผ่าน บริษัท เคพีเอ็น ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเน้นธุรกิจคอนโดมิเนียมระดับบน โครงการแรกที่เป็นผลงานคือ คอนโดมิเนียมหรู เดอะ คาโดแกน ที่สร้างประวัติเยี่ยมปิดการขายได้ภายใน 8 สัปดาห์ ส่วนโครงการถัดมา คือวินซอนเต้ มีการตอบรับที่ดีเช่นกัน

"ธุรกิจนี้ทำมาได้ราว 5 ปีแล้ว เพราะเป็นสิ่งที่ชอบมาตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะงานด้านดีไซน์ ช่วงที่ผมเรียนปริญญาโทที่อังกฤษ ผมยังไม่อยากกลับบ้านเลยบอกคุณแม่ว่าขอเรียนด้านอินทีเรียร์ต่อแล้วกัน เรียนอยู่ประมาณ 6 เดือนก็จบ ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้นำมาใช้ประกอบอาชีพ"

ทั้งธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์และการบริหารโครงการ KPN Awards เป็นสิ่งที่กรณ์บอกว่า "ชอบทั้งคู่" แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจไม่เอื้อ แผนรุกด้านเรียลเอสเตทของบริษัทไม่เดินเครื่องเต็มที่ จึงเป็นจังหวะดีที่เขาจะหันมาสานต่อธุรกิจดนตรีของครอบครัว

ธุรกิจที่เขามองว่า "มีโอกาส" ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ และหมายมาดว่าจะต้องปั้นกำไรและไปสู่อินเตอร์

"ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหน คนก็ยังชื่นชอบความบันเทิง โดยเฉพาะเพลงถือว่าเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในวิกฤติเช่นนี้จึงยังมีโอกาส ทำให้ KPN กล้าที่จะเดินหน้าขยายการลงทุน เช่น โปรเจค KPN Awards หรือค่ายเพลง"

ที่ผ่านมา KPN เป็นที่รู้จักกันดีกับโครงการประกวดร้องเพลง ซึ่งเริ่มต้นเมื่อปี 2526 โดยคุณหญิงพรทิพย์ ถือเป็นเวทีคุณภาพที่ผลิตนักร้องคุณภาพสู่วงการ ไม่ว่าจะเป็นธงชัย แมคอินไตย์, ทาทา ยัง กระทั่งเจนนิเฟอร์ คิ้ม

ทั้งยังเป็นเวทีประกวดแห่งเดียวที่ได้ถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรณ์จึงบอกว่า อยากจะสานต่อ แต่ขอเปลี่ยนคอนเซปต์เป็น "ทำธุรกิจมันต้องมีกำไร"

นี่จึงเป็นที่มาของการแยกจาก KPN Music ตั้งบริษัทใหม่ KPN Awards

และด้วยเหตุผลที่ว่า จะทำอะไรทั้งที ต้องมองไปข้างหน้าให้ไกล แผนการตลาดที่แยบยลของหนุ่มคนนี้จึงเกิดขึ้น

นั่นคือ ต่อยอดธุรกิจโดยก่อตั้งค่ายเพลงในเครือขึ้น เพื่อรองรับศิลปินและเป็นช่องทางขยายงานไปยังต่างประเทศ

"ถ้าดูกันจริงๆ แล้วบิสิเนสโมเดลไทยไม่มีอะไรที่จะแพ้เกาหลีได้เลย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถ หรือหน้าตา ที่ออกจะดีกว่าคนเกาหลีด้วยซ้ำ และคนไทยที่เก่งจะได้ตามรอยรุ่นพี่ของเวทีนี้ไปอย่างทาทา ยัง" กรณ์กล่าว

ค่ายเพลงแห่งนี้มีชื่อว่า บริษัท รีโว มิวสิค ครีเอชั่น (Revol Music Creations) มี ดัง-พันกร บุณยะจินดา นั่งเก้าอี้ผู้บริหาร ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ร่วมกับพี่สาว พอฤทัย ณรงค์เดช สะใภ้รองของกลุ่มณรงค์เดช ที่นั่งแท่นเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เคพีเอ็น มิวสิค (KPN Music)

โดยกรณ์บอกว่า ดัง-พันกร มีประสบการณ์เป็นนักร้องในสังกัดค่ายเพลงมาก่อน จะช่วยเหลือในส่วนนี้ได้มาก เพราะเข้าใจถึงวิธีทำค่ายเพลง "ก็เป็นการช่วยๆ กันในครอบครัวครับ ใครมีไอเดียอะไรๆ ใหม่ๆ ก็เสนอได้"

ค่ายเพลงยังช่วยเติมภาพธุรกิจด้านเอ็นเตอร์เทนเมนท์ของกลุ่ม KPN ได้เป็นอย่างดี จากเวทีประกวดร้องเพลง โรงเรียนดนตรี มาจนถึงค่ายเพลง เป็นการทำงานแบบรอบด้าน อีกทั้งยังสามารถทำการตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ

ประเดิมด้วยโปรเจคใหญ่ อัลบั้ม เดอะ เฟมัส ไฟว์ (The Famous Five) ที่นำเพลงของตำนานเพลงยุค 80 ไฮดร้า (Hydra) มาเรียบเรียงดนตรีใหม่ พร้อมฝากเสียงไว้ในซิงเกิ้ลแรก ชุดแดง ในแนวคลับ ร็อค (Club Rock)

เป้าหมายของค่ายเพลงน้องใหม่ในเครือ KPN music เน้นตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะแถบเอเชียอย่างเช่น เกาหลี ไต้หวัน หรือ ฮ่องกง โดยจะมีการจับมือกับค่ายเพลงในเกาหลีในเร็วๆ นี้ ถือว่าตรงกับคอนเซปต์ของ KPN Awards ที่ต้องการศิลปินซึ่งสามารถร้องเพลงได้ 2 ภาษาเพื่อการ "Go Inter"

"การเดินหน้าไปต่างประเทศจะทำให้ตลาดขยายใหญ่ยิ่งขึ้น แทนที่จะกระจุกตัวแค่ในประเทศ และตลาดดนตรี เรียกได้ว่า "ไร้พรมแดน" เพราะแม้จะฟังภาษาไม่เข้าใจ ก็สามารถเข้าใจทำนองเพลงได้ เราไม่กังวลประเด็นนี้นัก เพราะเน้นภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาสากลอยู่แล้ว"

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหลือบมองค่ายอื่น จะพบว่า เกือบทุกค่ายเพลงในเมืองไทยต่างพุ่งเป้าไปยังค่ายเพลงแดนกิมจิ เช่น แกรมมี่ ที่ส่งศิลปินอย่าง กอล์ฟ-ไมค์ ไปทำตลาดที่ประเทศเกาหลี และจับมือเป็นพันธมิตรร่วมกับค่ายเพลงที่นั่นด้วย กรณ์บอกว่าไม่กังวลนัก เพราะตลาดยังมีพื้นที่เปิดกว้าง และการแข่งขันเปรียบเสมือนการทำให้วงการเพลงพัฒนา

"เป็นไปไม่ได้ที่คนเราจะเลือกรับประทานอาหารแบบเดียวกันหมด อย่างเพลงนี่ผมมองว่ายังทำตลาดได้อีกมาก คร่าวๆ ตลาดเอ็นเตอร์เทนเมนท์น่าจะโตสัก 15-20% ต่อปีนะ เรามองเห็นช่องทางหลายอย่าง ส่วนเรื่องการแข่งขันของค่ายเพลงด้วยกันเอง ผมมองว่าไม่ใช่เรื่องการแข่งขัน เป็นเรื่องที่ดีเสียอีกที่จะได้ช่วยพัฒนาวงการเพลงในบ้านเรา ยิ่งมีหลายๆ เจ้ายิ่งชอบ จะได้พัฒนาตัวเราเอง"

ส่วนเหตุผลการเลือกจับมือกับเกาหลี กรณ์บอกว่า เป็นเพราะชอบวิธีการคิดและสไตล์การทำงานของคนเกาหลี ซึ่งการทำงานแต่ละครั้งเรียกได้ว่า หนักแบบสุดๆ และมีการวางกลยุทธ์ให้กับศิลปินแต่ละคน

"ศิลปินแต่ละคนกว่าจะออกเทปหรือมีอัลบั้มของตัวเองต้องฝึกฝนนานหลายปี เฉลี่ย 3-5 ปีเป็นอย่างต่ำ ทำให้เวลาที่ออกมาสู่สายตาผู้ชมมีความเป็นมืออาชีพสูงมาก

อีกอย่างที่ผมเห็นจากเขาคือ เวลาตั้งชื่อเพลง เกาหลีจะตั้งเป็นภาษาอังกฤษ แต่เนื้อร้องอาจจะเป็นภาษาของเขาเองทำให้คนจำง่าย ค้นหาในอินเทอร์เน็ตก็ง่าย เลยทำให้เพลงของเกาหลีติดหูและจำได้เร็ว"

กรณ์เองนำประเด็นเหล่านี้มาพลิกแพลงใช้กับค่ายเพลงของกลุ่ม KPN โดยบอกว่า นักร้องของค่ายจะต้องร้องเพลงหรือพูดได้อย่างน้อย 2 ภาษา คือ ไทยกับอังกฤษ ขณะเดียวกันก็ต้องเทรนอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดนตรี การเต้น หรือการร้อง หรือภาษาอังกฤษ เพราะต้องการเตรียมศิลปินไว้สำหรับการทำตลาดในเอเชีย ทั้งนี้ ศิลปินส่วนหนึ่งจะมาจากโครงการ KPN Awards และการเฟ้นหาศิลปินของค่ายเอง

ส่วนตัวเขาเอง ก็ต้องหันมาศึกษาด้านเพลงอย่างจริงจัง โดยทุกคืนจะต้องเข้าอินเทอร์เน็ตนั่งฟังเพลงทั้งเกาหลี ไทย หรือ แนวใหม่ๆ ใน Youtube ตลอดจนอัพเดทความคืบหน้าของแนวเพลงต่างๆ จากทั่วโลก

ต่างจากก่อนหน้านี้ที่ซีอีโอ KPN Awards จะฟังเฉพาะเพลงภาษาอังกฤษ ไม่ได้ฟังเพลงภาษาไทยเลย ยิ่งเพลงเกาหลียิ่งไม่รู้จัก

Source: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/bizweek/20091130/88682/กรณ์-ณรงค์เดช-ดนตรี-ต่อยอด-อาณาจักรเคพีเอ็น.html

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

'New Era' dawns at GMM Grammy

By Pichaya Changsorn
The Nation
Published on November 13, 2009

Founder's sons mark the beginning of a new chapter in leading music firm
It may be coincidental, but in Thai fah mai means "new era". That is the name of the eldest son of GMM Grammy's founder and major shareholder, Paiboon Damrongchaitham, and Fahmai is setting his sights on opening a new chapter for Thailand's largest music company.


Although Paiboon, 60, says he has no plans to retire anytime soon, many Grammy staff speak of a mood of change at the 27-year-old company. Much of it has to do with the founder's two eldest sons. Fahmai has worked for a year at Grammy and his younger brother, Rafah, joined only a month ago.


In an interview with The Nation, Fahmai, 23, said he now saw his father almost every day at work and was taking part in the company's strategic meetings every Monday, at which Paiboon and the firm's top management discussed immediate and longer-term issues facing the company.


As well as learning the broader aspects of the company's operations, he has taken on a "micro role" by talking to the company's artist managers about their responsibilities. Each artist manager handles a full cycle of responsibility, from recruiting artists to promoting their performances.


Outside of work, the Damrongchaitham family has a long-standing tradition of going out together for a meal at a restaurant every Saturday.


"Now Father adds to that. Every Sunday, we have to eat together once more, at our home," Fahmai said.


As well as his two sons, who are both communications graduates from the University of Southern California in Los Angeles, Paiboon has two daughters: Ingfah, who is in her first year of liberal-arts studies at Japan's Waseda University; and Fahchai, who is attending an international school in Bangkok.


Fahmai said he chose to begin working as a marketing officer for the firm's music business, which is headed by chief operating officer Krit Thomas, because music was the "upstream" part of the company's operations, and it generated content for Grammy's various other businesses. His brother Rafah is now under the close supervision of Suwat Damrongchaitham, Paiboon's nephew, who is in charge of the digital business, physical distribution and music compilations.


Fahmai said he had not found it difficult to blend in with the company's people and fit in to its work environment, because Grammy had no hierarchical work layers. Plus most staff had been with the firm for a long time, and he already knew many of them well.


"I was running around and playing at Grammy when I was a kid. I was folding cassette-tape covers when I was still at elementary school. I have always been keen to be around here. I have been breathing entertainment in my daily life," said Fahmai, whose hobby until recently was playing drums with his band.


Taking a young and fresh look at the company, Fahmai said he would personally like Grammy to embrace many more music genres, because various new media channels had sprung up, making it feasible for the firm to offer a greater choice to music lovers. This would also make it easier for the firm to expand into foreign markets.


He said that before going to study in the US, like most other Thai teenagers he knew and liked only the "mainstream" music genres, such as rock, pop and jazz. But after being exposed to a more diverse musical culture in the US, he became very fond of electronic music, although he still clung to his enthusiasm for mainstream styles.


Anticipating the growth of electronic music in Thailand, Fahmai has successfully convinced Grammy to test the ground with his "Mashroom" project. The first show will feature a deejay from Northern Europe: Marcus Schossow. It will be held next Friday at Maya, a new club in Sukhumvit Soi 55 (Soi Thonglor) in Bangkok.


And what if the first project fails? Fahmai was blunt: "So you don't make it fail."


He said his father often offered him advice on both life and work. There is one tip from Paiboon that Fahmai has adopted as a work principle. That is it requires four elements to accomplish something: determination, planning and thinking out a strategy, diligence and persistence.


"The fourth one is the most difficult for me. For example, my father has exercised each evening for about 20 years," he said.


Furthermore, Paiboon has always taught his children to be observant.


"When we're driving by a billboard, Father will ask what we see, and if we were to do it by ourselves, how could we do it better? It's mind training," Fahmai said.


At present, Fahmai is scouting around for new artists for Grammy that he would like to groom and promote by himself. He is also learning to play the piano.

pichaya@nationgroup.com

Source: http://www.nationmultimedia.com/worldhotnews/30116621/'New-Era'-dawns-at-GMM-Grammy

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

“อาร์เอส” จับมือ “ไอบีเอ็ม” เสริมโครงสร้างระบบไอที เดินหน้าพัฒนาธุรกิจบันเทิงดิจิตอลเต็มรูปแบบ

กรุงเทพฯ 27 มีนาคม 2550 – วันนี้ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด จัดงานแถลงข่าวประกาศความร่วมมือ การพัฒนาระบบไอทีของอาร์เอส โดยอาศัยนวตกรรมของไอบีเอ็ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งวางรากฐานเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาผลิตภัณฑ์บันเทิงในรูปแบบดิจิตอลใหม่ๆ ของ อาร์เอส เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ตามวิสัยทัศน์ของอาร์เอสที่จะก้าวไปเป็นผู้นำธุรกิจบันเทิงแบบครบวงจร พร้อมตั้งเป้าดันยอดขายบริการดิจิตอลมีเดียโต 60 % ในปีนี้

นายสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “ อาร์เอสเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี เพราะปัจจุบันธุรกิจสื่อและบันเทิงของไทยมีการพัฒนาไปจากเดิมมาก เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น รูปแบบพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ”

“ ผู้บริโภคยุคใหม่หันมานิยมบริโภคสื่อดิจิตอลกันมากขึ้น ซึ่งอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือนั้นได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ใช้บริการดาวน์โหลดเพลงจากเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดริงโทนจากมือถือมีการเติบโตขึ้นมาก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เราต้องนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อประโยชน์ด้านการดำเนินธุรกิจ และสร้างความแตกต่างเหนือคู่แข่ง โดยเราได้ไอบีเอ็มซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในการเสริมศักยภาพด้านไอทีของบริษัท ” นายสุรชัย กล่าวเสริม

ในการวางระบบไอทีครั้งนี้ อาร์เอสเลือกใช้โซลูชั่น Business Intelligence หรือ BI ของไอบีเอ็ม ประกอบด้วย เซิร์ฟเวอร์ IBM System x ระบบสตอเรจ IBM DX4300 และระบบซอฟต์แวร์ DB2 Data Warehouse Enterprise Edition ซึ่งบริษัท เมโทร ซิสเต็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนจำหน่าย โซลูชั่น Business Intelligence จะช่วยให้ผู้บริหารของอาร์เอสสามารถดึงข้อมูลต่างๆ อาทิ ยอดขายของแต่ละอัลบั้ม ความนิยมในตัวศิลปินแต่ละคน ริงโทนที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุด จากฐานข้อมูลมาใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที ซึ่งความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูลนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำไปข้อมูลไปใช้นำการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างเหมาะสม นางศุภจี สุธรรรมพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ เราเห็นว่าธุรกิจบันเทิงในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็ว องค์กรจึงจำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยีและความสามารถใหม่ๆ เพื่อรองรับการสรรค์สร้างนวตกรรมและการขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง และปัจจัยหลักที่ธุรกิจนี้ควรคำนึงถึงเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการทำงานด้านไอที คือความสามารถในการเปลี่ยนแปลงให้พร้อมรับกับความต้องการทางธุรกิจได้ทันท่วงที ที่สำคัญบริษัทต้องสามารถบริหารการใช้ต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพและได้รับประสิทธิผลสูงสุดด้วย ”

“ เราได้นำนวตกรรมของไอบีเอ็มไปช่วยอาร์เอสเสริมสร้างศักยภาพด้านไอที เพื่อให้อาร์เอสสามารถใช้เทคโนโลยีในการบริหารธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โซลูชั่น Business Intelligence ของไอบีเอ็มเป็นโซลูชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในทุกกลุ่มธุรกิจ เซิร์ฟเวอร์ IBM System x ระบบสตอเรจ IBM DX4300 และระบบซอฟต์แวร์ DB2 Data Warehouse Enterprise Edition ของเราเป็นผลิตภัณฑ์ไอทีชั้นนำระดับโลก ที่ช่วยให้องค์กรสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อาร์เอสสามารถจัดการธุรกิจได้ตามเป้าหมาย และยังมีศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้นด้วย อาร์เอสจึงสามารถสร้างความแตกต่างในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงได้ ” นางศุภจี กล่าวเสริม

ปัจจุบัน อาร์เอสไม่ได้เป็นแค่เพียงบริษัทเพลงแต่เป็นธุรกิจบันเทิงครบวงจร และพร้อมเดินหน้าให้บริการคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและตลาด อาร์เอสได้วางโพซิชั่นนิ่งของบริษัทในปีนี้ไว้ว่าจะเป็นเครือข่ายความบันเทิงครบวงจร โดยบริษัทจะให้ความสำคัญกับธุรกิจดิจิตอลคอนเทนต์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี โดยอาร์เอสมีแผนที่จะรุกตลาดดิจิตอลคอนเทนต์ด้วยเปิดตัวบริการความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ อาทิ บริการ SMS TONE, การขายคอนเทนต์เป็นแพคให้พาร์ทเนอร์ไปทำการตลาดเอง, การบัดเดิ้ลคอนเทนต์ลงในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์-เครื่องเล่น MP3 ฯลฯ ในปีนี้

Source: http://www.rs.co.th/corporate/th/press_release_detail.php?id=27

ยูบีซี มอบ แกรมมี่ จัดการธุรกิจ 11 นักล่าฝัน แห่ง UBC Academy Fantasia ปี 47

www.ThaiPR.net -- พฤหัสบดีที่ 16 กันยายน 2004 17:57:52 น.

กรุงเทพฯ--16 ก.ย.--ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ยูบีซี ลงนามในสัญญามอบหมายให้ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารธุรกิจและจัดสรรเวลา รวมทั้งสิทธิประโยชน์ให้กับ 11 นักล่าฝันแห่ง UBC Academy Fantasia โดยแกรมมี่จะเป็นผู้จัดทำอัลบั้มเพลงให้กับบางคนด้วย เพื่อสานฝันสู่การเป็นศิลปินให้กับนักล่าฝันของยูบีซี พร้อมนี้ ยูบีซี เตรียมจัดคอนเสิร์ต "UBC ACADEMY FANTASIA: V-REUNITE CONCERT" อย่างยิ่งใหญ่ เพื่อขอบคุณผู้ชมที่ให้การสนับสนุนใน 4 จังหวัดใหญ่ ประเดิมที่แรก 2 ตุลาคมนี้ ที่อินดอร์ สเตเดี่ยม หัวหมาก ตามด้วย หาดใหญ่ เชียงใหม่ และขอนแก่น
นายสมพันธ์ จารุมิลินท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า "หลังจากที่ UBC Academy Fantasia ปี 47 ได้จบลงเป็นที่เรียบร้อยโดยได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเกินความคาดหมายนั้น ได้มีองค์กรในธุรกิจบันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ายเพลง ผู้จัดละคร บริษัทโฆษณา หลายรายให้ความสนใจอยากจะให้นักล่าฝันไปร่วมงานและเสนอเงื่อนไขต่างๆ ที่จะเข้ามาดูแลนักล่าฝันทั้ง 11 คน ยูบีซี เองมีความประสงค์ที่จะช่วยสานฝันของนักล่าฝันให้เป็นจริง โดยเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักล่าฝัน ยูบีซี จึงมอบหมายให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้บริหารธุรกิจ และจัดสรรเวลาทำงาน รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับ 11 นักล่าฝันแห่ง UBC Academy Fantasia โดยแกรมมี่จะได้มอบหมายให้สังกัดเพลงจัดทำอัลบั้มเพลงให้กับนักล่าฝันตามความเหมาะสมภายใต้ความเห็นชอบของยูบีซี อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์, ภาพยนตร์ และบริษัทโฆษณา ก็ยังสามารถติดต่อให้นักล่าฝันไปร่วมงานได้อีก โดยยูบีซีและแกรมมี่จะพิจารณาร่วมกันถึงความเหมาะสมในการร่วมงานต่างๆ ของนักล่าฝัน
นายสมพันธ์ แถลงด้วยว่า "เพื่อเป็นการขอบคุณผู้ชมที่ได้ติดตามชมรายการและให้กำลังใจสนับสนุน 11 นักล่าฝันมาโดยตลอด และเพื่อทำตามคำเรียกร้องของแฟนๆ ยูบีซีจึงได้เตรียมจัดคอนเสริ์ต "UBC ACADEMY FANTASIA: V-REUNITE CONCERT" ให้กับ 11 นักล่าฝันแห่ง UBC Academy Fantasia อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 2 ตุลาคม 2547 ณ อินดอร์ สเตเดี่ยม หัวหมาก กรุงเทพฯ โดยจะเปิดโอกาสให้สมาชิกยูบีซี จองบัตรก่อนในวันที่ 16-18 กันยายน 2547 และสำหรับประชาชนทั่วไป เริ่มจำหน่ายบัตรตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน เป็นต้นไป บัตรมีจำหน่ายที่ Thaiticketmaster ต่อด้วยคอนเสิร์ตในอีก 3 จังหวัดใหญ่ คือ หาดใหญ่ เชียงใหม่ ขอนแก่น อีกด้วย ซึ่งรายละเอียดเรื่องวันเวลาและสถานที่ในแต่ละแห่ง ยูบีซี จะประกาศให้ทราบต่อไป
ด้าน นางสาวบุษบา ดาวเรือง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความพร้อมในการบริหาร 11 นักล่าฝันแห่ง UBC Academy Fantasia ว่า "แกรมมี่ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารธุรกิจของ 11 นักล่าฝันแห่ง UBC Academy Fantasia ในฐานะ Artist management เรามีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารศิลปิน ทั้งด้านการสร้างสรรค์และพัฒนาในทุกๆ สาขาอาชีพบันเทิง ทั้งด้านเพลง, นักแสดง, พิธีกร ฯลฯ จนถึงการทำ Marketing และการบริหารจัดการเรื่องธุรกิจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ
นอกจากนี้ยังรวมถึงความพร้อมและศักยภาพของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ด้วยทีมงานระดับมืออาชีพและประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ศิลปินระดับคุณภาพเป็นที่ยอมรับตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี รวมถึงความครอบคลุมของสื่ออย่างครบวงจรในกลุ่มธุรกิจของเราไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออินเตอร์เน็ท ฯลฯ ที่จะเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่ผลงานของนักล่าฝันทุกคน ด้วยศักยภาพของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ และแรงสนับสนุนจาก UBC บวกกับความสามารถของนักล่าฝันอีก 11 คน บริษัทฯ เชื่อมั่นว่า นักล่าฝันแต่ละคน จะประสบความสำเร็จ และสามารถพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งๆ ขึ้นต่อไปในอนาคต"
หมายเหตุ คอนเสิร์ตที่กรุงเทพฯ บัตรราคา 1,000/800/500/300
เวลาแสดง 19.00-21.00 น.
ติอต่อ ฝ่ายบริหารงานศิลปิน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โทร. 02 669 8844
รายละเอียดเพิ่มเติม
บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นพวรรณ คล้ายโอภาส ฝ่ายประชาสัมพันธ์การตลาด โทร. 0 2615 9772--จบ--

Source: http://www.ryt9.com/s/prg/151664/

เมเจอร์ควบอีจีวี สู่คู่กิ๊กผูกขาดวงการบันเทิง

ผศ. ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2547

ข่าวที่เป็น "Talk of the town" พูดกันทั่วเมืองมากๆในช่วงนี้คือ การควบรวมกิจการระหว่างยักษ์ใหญ่ในธุรกิจบันเทิง 2 แห่ง นั่นก็คือ เมเจอร์และอีจีวี ซึ่งนับว่าเป็นข่าวที่พลิกความคาดหมายมาก เนื่องจากว่าสองกลุ่มบริษัทนี้ แม้ว่าจริงๆ แล้ว จะมาจากกลุ่มธุรกิจเครือญาติที่ใกล้ชิดกันก็ตาม แต่ด้วยกระแสธุรกิจและการแข่งขันรุนแรง รวมถึงข่าวที่ออกมาเนืองๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดูจะเป็นคู่แข่งทางการค้าที่มีความรุนแรงมากพอสมควร แต่ไปๆ มาๆ กลับมาผนวกรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก

หลายคนถามว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร จะส่งผลกระทบกับใครบ้าง แล้วการควบรวมนี้จะส่งผลดีต่อธุรกิจจริงหรือไม่ คำถามเหล่านี้ จะขออนุญาตมองต่างมุมและมาหาคำตอบกัน

ขออธิบายคำว่า การควบรวม หรือ Merger คือ เครื่องมือทางการจัดการอย่างหนึ่ง โดยเป็นการควบรวมขององค์กรที่มากกว่าหนึ่งองค์กรขึ้นไป ที่มีรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีการผสมผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์การ ระบบงาน ฐานข้อมูล เทคโนโลยีในการดำเนินงาน รวมถึงทรัพยากรบุคคลทั้งหมด ซึ่งองค์การที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมนั้น จะใช้ชื่อเดิมขององค์การใดองค์การหนึ่ง

เช่น การควบรวมของธนาคารนครหลวงไทยกับธนาคารศรีนคร ซึ่งควบกันแล้วยังใช้ชื่อธนาคารนครหลวงไทยเหมือนเดิม ส่วนธนาคารศรีนครก็หายไปและรวมตัวอยู่ในองค์การดังกล่าว (กรณีของเมเจอร์กับอีจีวีก็อยู่ในลักษณะนี้ เนื่องจากหลังจากการควบรวมแล้ว จะเหลือแต่ชื่อ เมเจอร์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งเดียว) ส่วนอีกลักษณะหนึ่งของการควบรวม คือหลังจากการควบรวมแล้ว จะมีองค์การใหม่เกิดขึ้นมาแทน เช่น UTV ควบกับ IBC แล้วกลายเป็น UBC ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็ไม่มีบริษัท UTV หรือ IBC อีกต่อไป

สำหรับในประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมาได้มีการนำเอาแนวคิดของการควบรวมกิจการมาใช้ในกิจการมากขึ้น คงจำได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลเองก็ได้มีการผลักดันให้สถาบันการเงินภายในประเทศทำการควบรวมกันเอง ตามแผนแม่บททางการเงินของประเทศ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือต้องการสร้างความแข็งแกร่งจากการรวมตัวซึ่งกันและกันของสถาบันการเงิน ก่อนที่จะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากจากต่างประเทศ

หากจะสรุปให้เห็นภาพเบื้องต้นจะพบว่า การที่ธุรกิจนำกลยุทธ์การควบรวมกิจการมาใช้แพร่หลายนั้น ก็เพื่อรวบรวมและผสมผสานจุดแข็งขององค์กรเข้าด้วยกัน เพิ่มอำนาจและขอบเขตทางการตลาด สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้ลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวม ทำให้การคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

อีกทั้งในหลายๆ กรณีการควบรวมกันก็เพื่อลดการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม รวมถึงลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หากมีการควบรวมกิจการข้ามชาติเกิดขึ้น

เมื่อวิเคราะห์ในกรณีของเมเจอร์และอีจีวี จะเห็นว่าผลดีที่เกิดขึ้นต่อกิจการทั้งสองหลังการควบรวมนั้น ก็คือ การแข่งขันระหว่างกันภายในอุตสาหกรรมนี้ลดลงอย่างมาก รวมถึงความสามารถทางการแข่งขันของกิจการที่ควบรวมกันสูงขึ้นมาก เนื่องจากทั้งสองกิจการนั้น ล้วนแล้วแต่มีความแข็งแกร่งในธุรกิจบันเทิง โดยเฉพาะธุรกิจโรงภาพยนตร์ เนื่องจากเป็นทั้งเบอร์หนึ่ง เบอร์สองของธุรกิจ

เมเจอร์ถือว่ามีความแข็งแกร่งด้านการตลาด ฐานลูกค้า เครือข่ายตลาด และแบรนด์เนม ส่วนอีจีวีมีความโดดเด่นมากในเรื่องของทำเลที่ตั้ง ซึ่งยึดหัวหาดอยู่ทำเลทองกลางใจเมืองมากมาย ทำให้เมเจอร์ในปัจจุบันนับว่าประสบผลสำเร็จทางการตลาดมากอยู่แล้ว กลายเป็นเสือติดปีกในธุรกิจหลังจากการควบรวม

การควบรวมนี้ยังเพิ่มอำนาจต่อรองของเมเจอร์กับลูกค้า และคู่ค้าต่างๆ เมื่อพูดถึงด้านลูกค้า หลายคนกังวลว่าจะเกิดการผูกขาดขึ้น และอาจจะมีการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาตั๋วหนัง ซึ่งทางเมเจอร์ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการขึ้นราคาค่าตั๋ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอำนาจต่อรองของเมเจอร์ที่มีต่อลูกค้าต้องสูงขึ้นอย่างมากแน่นอนครับ เนื่องจากวิเคราะห์จากตัวเลขแล้ว จะพบว่าหลังการควบรวมแล้ว เมเจอร์จะมีส่วนแบ่งตลาดโรงภาพยนตร์ถึงมากกว่า 70% (มีโรงภาพยนตร์รวมกันถึง 229 โรง) ทั้งยังอยู่ในทำเลที่ดี รวมถึงมีความภักดีในตราสินค้าต่อลูกค้าเป็นอย่างมาก

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ลูกค้าจึงมีทางเลือกน้อยลง และเปลี่ยนไปใช้บริการกับโรงภาพยนตร์ในเครืออื่นยากขึ้น ถึงจะยังไม่มีการขึ้นราคาค่าตั๋วในอนาคตอันใกล้ แต่อำนาจต่อรองของลูกค้าจะต้องลดน้อยลงแน่นอน

แต่ที่มีการกล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก คงจะเป็นอำนาจต่อรองที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ทางผู้ผลิตภาพยนตร์ก็คงต้องพบกับแรงกดดันมากพอควรจากการควบรวมนี้ นับว่าน่าจะมีผลกระทบต่อการต่อรองในเรื่องของการกำหนดตารางการฉาย ระยะเวลาการฉาย รวมถึงต้นทุนในการเช่าภาพยนตร์ (Film Hire) อย่างแน่นอน จะเห็นได้จากการที่กลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ออกมามีการแสดงความกังวลต่อการควบรวม เนื่องจากจะส่งผลต่อความอยู่รอดในระยะยาวเลยทีเดียว

จริงๆ แล้วหากเกิดกรณีลักษณะนี้ในต่างประเทศ คงต้องมีการพิจารณาและผ่านการตรวจสอบกันมากว่าจะทำได้หรือไม่ เนื่องจากต่างประเทศจะมีกฎหมายการต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Law) หากมีกรณีใดเข้าข่าย ทางรัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแลด้วย แต่ในเมืองไทยเท่าที่ทราบยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การควบรวมกิจการอาจถือเป็น ?สปริงบอร์ด? ที่จะนำเมเจอร์สู่ความเป็นผู้นำอาณาจักรธุรกิจบันเทิง ที่มีเครือข่ายกว้างขวางและแข็งแกร่งมาก

ทั้ง "เมเจอร์โบว์ล" ที่ติดตลาดอยู่แล้ว มาควบรวมกับ "เดอ โบว์ล บาย อีจีวี" ธุรกิจคาราโอเกะของทั้งสองกิจการก็นำมาผนวกกัน อีกทั้งเมเจอร์เองยังมีการลงทุนในผู้นำของธุรกิจฟิตเนส นั่นคือ "แคลิฟอร์เนียฟิตเนส" ก็สามารถทำความร่วมมือกับ "เยส ฟิตเนส" ของอีจีวีได้อีก เรียกว่ายิงนกทีเดียวได้ประโยชน์หลายสถาน รวมถึงการขยายตัวเข้าไปในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกันต่อไป การควบรวมดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเริ่มของการสยายปีกสร้างอาณาจักรธุรกิจครบวงจรได้เลย

ทุกอย่างเป็นแค่เพียงการคาดการณ์ การควบรวมกิจการนั้นมีความเสี่ยงและข้อควรระวังเช่นเดียวกัน เนื่องจากหลายๆ กรณีในต่างประเทศไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิดเสมอไป โดยเป็นปัญหาทางด้านความไม่สอดคล้องกันของวัฒนธรรมขององค์การ ทำให้การควบรวมไม่ราบรื่นอย่างที่คิดและการดำเนินการหลังการควบรวมอาจจะยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะแต่ละองค์การก็จะมีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว หากมีความแตกต่างกันมาก การรวมตัวเป็นเนื้อเดียวก็ไม่กลืนกันเต็มที่

อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในกระบวนการดังกล่าว โดยทั่วไปใช้เวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในการปรับตัวหลังการควบรวม ซึ่งในกรณีนี้ก็มีการคาดการณ์ว่าคงต้องมีการใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งเพื่อการปรับตัว โดยเฉพาะขวัญกำลังใจของบุคลากรซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เนื่องจากหลายๆ กรณีหลังจากควบรวม มักมีการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งงานและโครงสร้างองค์การมากมาย

การลดบุคลากรในงานที่ซ้ำซ้อนอาจเกิดขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนในการดำเนินการอย่างมาก เหมือนกับการควบรวมของหลายๆบริษัท ดังนั้นเรื่องขวัญกำลังใจของบุคลากรต้องอาศัยเวลา และความพยายาม ในการจัดการเรื่องต่างๆ ดังกล่าวมากพอสมควรทีเดียวครับ โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการควบรวมใหม่ๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่บุคลากรทุกคน

ในการควบรวมกิจการยังอาจมีผลกระทบด้านรายได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของ ?Cannibalization? หรือการที่สินค้าจะแย่งลูกค้ากันเอง เนื่องจากมองในแง่ของสาขาของโรงภาพยนตร์ที่อยู่ใกล้กัน ในทำเลเดียวกัน อาจมีการแย่งลูกค้ากันได้ จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ด้านช่องทางจำหน่าย รวมถึงการที่เมเจอร์มีการเข้าควบกันในราคาที่แพงกว่ามูลค่าตามบัญชีของกิจการ จึงต้องมีการตัดจำหน่ายเป็นผลขาดทุนทางบัญชี เมื่อนำอีจีวีออกจากตลาดหลักทรัพย์ และภาระหนี้สินของอีจีวีก็จะต้องถูกนำมารวมด้วย ทำให้มีความเสี่ยงด้านโครงสร้างการเงินที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก

สิ่งเหล่านี้ก็นับว่าทำความวิตกกังวลกับนักลงทุน ทำให้ราคาหุ้นระยะสั้นมีความผันผวนปรับตัวลดลงในช่วงแรก หลังจากมีข่าวควบกิจการขึ้นมา และจากนี้ต่อไป ยักษ์ใหญ่อย่างเมเจอร์ คงต้องถูกจับตามองจากสาธารณชนและกลุ่มที่เกี่ยวข้องมากพอสมควร ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร กระทบกับการผูกขาดในตลาดหรือไม่

การตัดสินใจอาจจะช้าลง เนื่องจากต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์และผลกระทบต่อสังคมมากพอควรครับ รวมถึงการที่ควบรวมกันเป็นองค์การที่ใหญ่มากขึ้นขนาดนี้ อาจจะมีผลข้างเคียงทางด้านของขนาดที่ใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ หรือมีการใช้กฎระเบียบที่มากขึ้นในการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์และการปรับตัวอย่างรวดเร็วในอนาคตด้วย อาจจะทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆในธุรกิจขาดความคล่องตัว ซึ่งอาจกล่าวว่า ทำให้ "ความยืดหยุ่นทางกลยุทธ์" ลดลง โดยสิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด ก็นับว่าเป็นขั้นตอนที่เมเจอร์จะต้องฟันฝ่าต่อไป

หนทางข้างหน้ายังไม่ได้มีแค่กลีบกุหลาบโรยอยู่ แต่ต้องใช้ความพยายามอีกพอสมควร ก็ขอเอาใจช่วยให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี จัดการกับขวากหนามต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหวังว่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่นำผลดีต่อทั้งองค์การ ลูกค้า คู่ค้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องทั้งหมด ซึ่งจะสามารถยกระดับอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้มีความแข็งแกร่งทัดเทียมตลาดโลก

Source: http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q2/article2004june19p1.htm

เมเจอร์ควบอีจีวี สู่คู่กิ๊กผูกขาดวงการบันเทิง

ผศ. ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพธุรกิจ วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2547

ข่าวที่เป็น "Talk of the town" พูดกันทั่วเมืองมากๆในช่วงนี้คือ การควบรวมกิจการระหว่างยักษ์ใหญ่ในธุรกิจบันเทิง 2 แห่ง นั่นก็คือ เมเจอร์และอีจีวี ซึ่งนับว่าเป็นข่าวที่พลิกความคาดหมายมาก เนื่องจากว่าสองกลุ่มบริษัทนี้ แม้ว่าจริงๆ แล้ว จะมาจากกลุ่มธุรกิจเครือญาติที่ใกล้ชิดกันก็ตาม แต่ด้วยกระแสธุรกิจและการแข่งขันรุนแรง รวมถึงข่าวที่ออกมาเนืองๆ ในช่วงที่ผ่านมา ดูจะเป็นคู่แข่งทางการค้าที่มีความรุนแรงมากพอสมควร แต่ไปๆ มาๆ กลับมาผนวกรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันได้ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก

หลายคนถามว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร จะส่งผลกระทบกับใครบ้าง แล้วการควบรวมนี้จะส่งผลดีต่อธุรกิจจริงหรือไม่ คำถามเหล่านี้ จะขออนุญาตมองต่างมุมและมาหาคำตอบกัน

ขออธิบายคำว่า การควบรวม หรือ Merger คือ เครื่องมือทางการจัดการอย่างหนึ่ง โดยเป็นการควบรวมขององค์กรที่มากกว่าหนึ่งองค์กรขึ้นไป ที่มีรวมกันเป็นหนึ่งเดียว โดยจะมีการผสมผสานทุกอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างองค์การ ระบบงาน ฐานข้อมูล เทคโนโลยีในการดำเนินงาน รวมถึงทรัพยากรบุคคลทั้งหมด ซึ่งองค์การที่เกิดขึ้นหลังจากการควบรวมนั้น จะใช้ชื่อเดิมขององค์การใดองค์การหนึ่ง

เช่น การควบรวมของธนาคารนครหลวงไทยกับธนาคารศรีนคร ซึ่งควบกันแล้วยังใช้ชื่อธนาคารนครหลวงไทยเหมือนเดิม ส่วนธนาคารศรีนครก็หายไปและรวมตัวอยู่ในองค์การดังกล่าว (กรณีของเมเจอร์กับอีจีวีก็อยู่ในลักษณะนี้ เนื่องจากหลังจากการควบรวมแล้ว จะเหลือแต่ชื่อ เมเจอร์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งเดียว) ส่วนอีกลักษณะหนึ่งของการควบรวม คือหลังจากการควบรวมแล้ว จะมีองค์การใหม่เกิดขึ้นมาแทน เช่น UTV ควบกับ IBC แล้วกลายเป็น UBC ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วก็ไม่มีบริษัท UTV หรือ IBC อีกต่อไป

สำหรับในประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมาได้มีการนำเอาแนวคิดของการควบรวมกิจการมาใช้ในกิจการมากขึ้น คงจำได้ว่าเมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลเองก็ได้มีการผลักดันให้สถาบันการเงินภายในประเทศทำการควบรวมกันเอง ตามแผนแม่บททางการเงินของประเทศ ซึ่งวัตถุประสงค์ก็คือต้องการสร้างความแข็งแกร่งจากการรวมตัวซึ่งกันและกันของสถาบันการเงิน ก่อนที่จะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากจากต่างประเทศ

หากจะสรุปให้เห็นภาพเบื้องต้นจะพบว่า การที่ธุรกิจนำกลยุทธ์การควบรวมกิจการมาใช้แพร่หลายนั้น ก็เพื่อรวบรวมและผสมผสานจุดแข็งขององค์กรเข้าด้วยกัน เพิ่มอำนาจและขอบเขตทางการตลาด สามารถเข้าสู่ตลาดใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยทำให้ลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวม ทำให้การคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

อีกทั้งในหลายๆ กรณีการควบรวมกันก็เพื่อลดการแข่งขันที่รุนแรงระหว่างคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม รวมถึงลดการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ หากมีการควบรวมกิจการข้ามชาติเกิดขึ้น

เมื่อวิเคราะห์ในกรณีของเมเจอร์และอีจีวี จะเห็นว่าผลดีที่เกิดขึ้นต่อกิจการทั้งสองหลังการควบรวมนั้น ก็คือ การแข่งขันระหว่างกันภายในอุตสาหกรรมนี้ลดลงอย่างมาก รวมถึงความสามารถทางการแข่งขันของกิจการที่ควบรวมกันสูงขึ้นมาก เนื่องจากทั้งสองกิจการนั้น ล้วนแล้วแต่มีความแข็งแกร่งในธุรกิจบันเทิง โดยเฉพาะธุรกิจโรงภาพยนตร์ เนื่องจากเป็นทั้งเบอร์หนึ่ง เบอร์สองของธุรกิจ

เมเจอร์ถือว่ามีความแข็งแกร่งด้านการตลาด ฐานลูกค้า เครือข่ายตลาด และแบรนด์เนม ส่วนอีจีวีมีความโดดเด่นมากในเรื่องของทำเลที่ตั้ง ซึ่งยึดหัวหาดอยู่ทำเลทองกลางใจเมืองมากมาย ทำให้เมเจอร์ในปัจจุบันนับว่าประสบผลสำเร็จทางการตลาดมากอยู่แล้ว กลายเป็นเสือติดปีกในธุรกิจหลังจากการควบรวม

การควบรวมนี้ยังเพิ่มอำนาจต่อรองของเมเจอร์กับลูกค้า และคู่ค้าต่างๆ เมื่อพูดถึงด้านลูกค้า หลายคนกังวลว่าจะเกิดการผูกขาดขึ้น และอาจจะมีการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยการขึ้นราคาตั๋วหนัง ซึ่งทางเมเจอร์ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการขึ้นราคาค่าตั๋ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอำนาจต่อรองของเมเจอร์ที่มีต่อลูกค้าต้องสูงขึ้นอย่างมากแน่นอนครับ เนื่องจากวิเคราะห์จากตัวเลขแล้ว จะพบว่าหลังการควบรวมแล้ว เมเจอร์จะมีส่วนแบ่งตลาดโรงภาพยนตร์ถึงมากกว่า 70% (มีโรงภาพยนตร์รวมกันถึง 229 โรง) ทั้งยังอยู่ในทำเลที่ดี รวมถึงมีความภักดีในตราสินค้าต่อลูกค้าเป็นอย่างมาก

ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ลูกค้าจึงมีทางเลือกน้อยลง และเปลี่ยนไปใช้บริการกับโรงภาพยนตร์ในเครืออื่นยากขึ้น ถึงจะยังไม่มีการขึ้นราคาค่าตั๋วในอนาคตอันใกล้ แต่อำนาจต่อรองของลูกค้าจะต้องลดน้อยลงแน่นอน

แต่ที่มีการกล่าวถึงกันเป็นอย่างมาก คงจะเป็นอำนาจต่อรองที่สูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างๆ ทางผู้ผลิตภาพยนตร์ก็คงต้องพบกับแรงกดดันมากพอควรจากการควบรวมนี้ นับว่าน่าจะมีผลกระทบต่อการต่อรองในเรื่องของการกำหนดตารางการฉาย ระยะเวลาการฉาย รวมถึงต้นทุนในการเช่าภาพยนตร์ (Film Hire) อย่างแน่นอน จะเห็นได้จากการที่กลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ออกมามีการแสดงความกังวลต่อการควบรวม เนื่องจากจะส่งผลต่อความอยู่รอดในระยะยาวเลยทีเดียว

จริงๆ แล้วหากเกิดกรณีลักษณะนี้ในต่างประเทศ คงต้องมีการพิจารณาและผ่านการตรวจสอบกันมากว่าจะทำได้หรือไม่ เนื่องจากต่างประเทศจะมีกฎหมายการต่อต้านการผูกขาด (Antitrust Law) หากมีกรณีใดเข้าข่าย ทางรัฐบาลจะต้องเข้ามาดูแลด้วย แต่ในเมืองไทยเท่าที่ทราบยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การควบรวมกิจการอาจถือเป็น ?สปริงบอร์ด? ที่จะนำเมเจอร์สู่ความเป็นผู้นำอาณาจักรธุรกิจบันเทิง ที่มีเครือข่ายกว้างขวางและแข็งแกร่งมาก

ทั้ง "เมเจอร์โบว์ล" ที่ติดตลาดอยู่แล้ว มาควบรวมกับ "เดอ โบว์ล บาย อีจีวี" ธุรกิจคาราโอเกะของทั้งสองกิจการก็นำมาผนวกกัน อีกทั้งเมเจอร์เองยังมีการลงทุนในผู้นำของธุรกิจฟิตเนส นั่นคือ "แคลิฟอร์เนียฟิตเนส" ก็สามารถทำความร่วมมือกับ "เยส ฟิตเนส" ของอีจีวีได้อีก เรียกว่ายิงนกทีเดียวได้ประโยชน์หลายสถาน รวมถึงการขยายตัวเข้าไปในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ร่วมกันต่อไป การควบรวมดังกล่าวนับว่าเป็นจุดเริ่มของการสยายปีกสร้างอาณาจักรธุรกิจครบวงจรได้เลย

ทุกอย่างเป็นแค่เพียงการคาดการณ์ การควบรวมกิจการนั้นมีความเสี่ยงและข้อควรระวังเช่นเดียวกัน เนื่องจากหลายๆ กรณีในต่างประเทศไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คิดเสมอไป โดยเป็นปัญหาทางด้านความไม่สอดคล้องกันของวัฒนธรรมขององค์การ ทำให้การควบรวมไม่ราบรื่นอย่างที่คิดและการดำเนินการหลังการควบรวมอาจจะยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะแต่ละองค์การก็จะมีบุคลิกลักษณะเฉพาะตัว หากมีความแตกต่างกันมาก การรวมตัวเป็นเนื้อเดียวก็ไม่กลืนกันเต็มที่

อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในกระบวนการดังกล่าว โดยทั่วไปใช้เวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีในการปรับตัวหลังการควบรวม ซึ่งในกรณีนี้ก็มีการคาดการณ์ว่าคงต้องมีการใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งเพื่อการปรับตัว โดยเฉพาะขวัญกำลังใจของบุคลากรซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เนื่องจากหลายๆ กรณีหลังจากควบรวม มักมีการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งงานและโครงสร้างองค์การมากมาย

การลดบุคลากรในงานที่ซ้ำซ้อนอาจเกิดขึ้นด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การลดต้นทุนในการดำเนินการอย่างมาก เหมือนกับการควบรวมของหลายๆบริษัท ดังนั้นเรื่องขวัญกำลังใจของบุคลากรต้องอาศัยเวลา และความพยายาม ในการจัดการเรื่องต่างๆ ดังกล่าวมากพอสมควรทีเดียวครับ โดยเฉพาะในช่วงหลังจากการควบรวมใหม่ๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนมาสู่บุคลากรทุกคน

ในการควบรวมกิจการยังอาจมีผลกระทบด้านรายได้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของ ?Cannibalization? หรือการที่สินค้าจะแย่งลูกค้ากันเอง เนื่องจากมองในแง่ของสาขาของโรงภาพยนตร์ที่อยู่ใกล้กัน ในทำเลเดียวกัน อาจมีการแย่งลูกค้ากันได้ จึงต้องมีการปรับกลยุทธ์ด้านช่องทางจำหน่าย รวมถึงการที่เมเจอร์มีการเข้าควบกันในราคาที่แพงกว่ามูลค่าตามบัญชีของกิจการ จึงต้องมีการตัดจำหน่ายเป็นผลขาดทุนทางบัญชี เมื่อนำอีจีวีออกจากตลาดหลักทรัพย์ และภาระหนี้สินของอีจีวีก็จะต้องถูกนำมารวมด้วย ทำให้มีความเสี่ยงด้านโครงสร้างการเงินที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาก

สิ่งเหล่านี้ก็นับว่าทำความวิตกกังวลกับนักลงทุน ทำให้ราคาหุ้นระยะสั้นมีความผันผวนปรับตัวลดลงในช่วงแรก หลังจากมีข่าวควบกิจการขึ้นมา และจากนี้ต่อไป ยักษ์ใหญ่อย่างเมเจอร์ คงต้องถูกจับตามองจากสาธารณชนและกลุ่มที่เกี่ยวข้องมากพอสมควร ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร กระทบกับการผูกขาดในตลาดหรือไม่

การตัดสินใจอาจจะช้าลง เนื่องจากต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์และผลกระทบต่อสังคมมากพอควรครับ รวมถึงการที่ควบรวมกันเป็นองค์การที่ใหญ่มากขึ้นขนาดนี้ อาจจะมีผลข้างเคียงทางด้านของขนาดที่ใหญ่เกินไป ทำให้เกิดความล่าช้าในการตัดสินใจ หรือมีการใช้กฎระเบียบที่มากขึ้นในการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์และการปรับตัวอย่างรวดเร็วในอนาคตด้วย อาจจะทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆในธุรกิจขาดความคล่องตัว ซึ่งอาจกล่าวว่า ทำให้ "ความยืดหยุ่นทางกลยุทธ์" ลดลง โดยสิ่งต่างๆเหล่านี้ทั้งหมด ก็นับว่าเป็นขั้นตอนที่เมเจอร์จะต้องฟันฝ่าต่อไป

หนทางข้างหน้ายังไม่ได้มีแค่กลีบกุหลาบโรยอยู่ แต่ต้องใช้ความพยายามอีกพอสมควร ก็ขอเอาใจช่วยให้ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี จัดการกับขวากหนามต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหวังว่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่นำผลดีต่อทั้งองค์การ ลูกค้า คู่ค้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องทั้งหมด ซึ่งจะสามารถยกระดับอุตสาหกรรมบันเทิงไทยให้มีความแข็งแกร่งทัดเทียมตลาดโลก

Source: http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q2/article2004june19p1.htm

วิชา พูลวรลักษณ์ บิ๊กบอส เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป คว้ารางวัล Entertainment Business Award 2007


Wednesday, 9 May 2007 09:00 -- ทั่วไป

โลดแล่นอยู่ในแวดวงธุรกิจบันเทิงมากว่าสิบปี จนประสบความสำเร็จพา บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลายเป็นบริษัทมหาชนในวันนี้ได้ เพราะวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ล่าสุด “ วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด(มหาชน) ได้รับเลือกจาก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้เข้ารับรางวัล “Entertainment Business Award 2007” ในฐานะที่เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารงานด้านธุรกิจบันเทิง ตลอดจน การสร้างรูปแบบการบริหารงานที่เป็นนวัตกรรมแก่อุตสาหกรรมบันเทิงไทย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3

“Entertainment Business Award” ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับนักธุรกิจระดับแนวหน้าของไทย ที่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจบันเทิง ภายใต้การดูแลของคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พิจารณามอบให้แก่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านการบริหาร และผู้ที่มีคุณูปการแก่วงการธุรกิจบันเทิงไทย ซึ่งได้จัดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2548 สำหรับในปีนี้ ผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้ารับรางวัล คือ วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) โดยจะเข้ารับรางวัล ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุม 10201 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหลังจากรับรางวัลดังกล่าวแล้ว วิชา พูลวรลักษณ์ จะร่วมเสวนาในหัวข้อ “แนวทางและอนาคตของการบริหารการจัดการธุรกิจโรงภาพยนตร์” โดยมี ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง อัญชลีพร กุสุมภ์ เป็นผู้ดำเนินการเสวนาในครั้งนี้

สำหรับประวัติของ วิชา พูลวรลักษณ์ นั้น ในแวดวงของธุรกิจบันเทิงน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก นักบริหารธุรกิจโรงภาพยนตร์ชื่อดังที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดีและเป็นที่ยอมรับในแวดวงของนักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย ในนามผู้บริหารเครือ “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป” ในฐานะผู้บุกเบิกสร้างเมืองหนังขึ้นเป็นครั้งแรกของเมืองไทย ในรูปแบบ Stand Alone Complex ที่เขย่าธุรกิจโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยให้สั่นสะเทือนมาแล้ว รวมถึงคิดออกแบบตกแต่งบรรยากาศแบบ Theme Cinema ของแต่ละสาขา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์

วิชา พูลวรลักษณ์ จัดเป็นนักบริหารที่กล้าได้ กล้าเสีย และมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปูทางให้เขาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เห็นได้จากการที่เขาตัดสินใจนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาพลิกรูปแบบการให้บริการในโรงภาพยนตร์แบบเดิม ๆ โดยสิ้นเชิง อาทิ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีออนไลน์ที่ทันสมัยที่สุด เปิดให้บริการซื้อตั๋วหนังออนไลน์ด้วยบริการ Major Online Ticketing ผ่านบัตร Major M-Cash ด้วยวิธีง่าย ๆ สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลารอคิวนาน กับ 3 ช่องทางพิเศษ คือ ระบบ Interactive Voice Response (IVR) Movie Line 02-515-5555 และ ที่ *4999 สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อผ่านโทรศัพท์มือถือ, อินเตอร์เน็ต www.majorcineplex.com และwww.egv.com ที่สามารถเลือกที่นั่งเองและพริ้นท์ตั๋วเองจากที่บ้าน และ เครื่องจำหน่ายบัตรอัตโนมัติ (ตู้ Kiosk) พร้อมทั้งพัฒนาเป็นโรงภาพยนตร์ดิจิตอลแห่งแรกในเมืองไทย ด้วยการทุ่มงบนำเข้าเครื่องฉายภาพยนตร์ระบบดิจิตอล โปรเจคเตอร์ ที่ฉายโดยไม่ต้องใช้แผ่นฟิล์ม มาจัดฉายภาพยนตร์ให้คนไทยได้สัมผัสนวัตกรรมใหม่ของธุรกิจโรงภาพยนตร์ รวมถึง ตัดสินใจสร้างโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ จอยักษ์ 3 มิติ แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ตลอดจน สร้างเมเจอร์ โบว์ล ฮิต บูติคโบว์ลิ่งแห่งแรกของเมืองไทย ให้สัมผัสถึงความพิเศษของ ห้องแพลตตินั่มรูม ที่สามารถโยนโบว์ลิ่งและร้องคาราโอเกะได้ภายในห้องเดียว และลานไอซ์สเก็ตซับ ซีโร่

นอกจากนี้ ยังได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่กับอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของโรงภาพยนตร์เมืองไทยเมื่อเขาตัดสินใจควบรวมกิจการกับ โรงภาพยนตร์อันดับ 2 ของเมืองไทย คือ โรงภาพยนตร์ อีจีวี เข้ามาอยู่ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป หรือแม้แต่การสร้างวัฒนธรรมบันเทิงแห่งใหม่ยิ่งใหญ่ระดับโลก มูลค่าพันล้าน ระดับ 6 ดาว ในนามโรงภาพยนตร์ “พารากอน ซีนีเพล็กซ์” แบรนด์ใหม่เป็นแบรนด์ที่ 3 ให้เป็นมิติใหม่ของธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนท์ที่ไม่เคยมีใครได้สัมผัสมาก่อน ด้วยฝีมือการออกแบบตกแต่งโดยดีไซเนอร์ชื่อดังของโลกอย่าง Rockwell Group กลุ่มนักออกแบบผู้สร้างสรรค์ผลงานโดดเด่นอย่าง โกดัก เธียเตอร์ สถานที่จัดงานเทศกาลประกาศผลรางวัลออสการ์ ที่นี่นอกเหนือจากการมีบริการที่ยอดเยี่ยมต่างๆ แล้ว ยังมีโรงภาพยนตร์ใหญ่ที่สุด หรูหราที่สุด อย่าง “สยามภาวลัย” ประทับใจกับ “โนเกีย อัลตร้า สกรีน” โรงภาพยนตร์ระดับวีไอพี พิเศษสุดด้วยโซนที่นั่งส่วนตัวแบบ Block Seat และโรงภาพยนตร์ที่แพงที่สุด อย่าง “อีนิกม่า” โรงภาพยนตร์สไตล์คลับสุดหรูหนึ่งเดียวในโลก เอกสิทธิ์เฉพาะสมาชิกเท่านั้น ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ที่นี่แทบทั้งสิ้น และล่าสุดก็ได้สร้างนวัตกรรมศิลป์ความบันเทิงแห่งใหม่ที่เป็นไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่เป็นปรากฎการณ์สีสันแห่งเทรนด์การใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ ให้กับย่านรัชดาภิเษกอีกหนึ่งทำเลทอง กับแบรนด์ใหม่ “เอสพละนาด ซีนีเพล็กซ์” แบรนด์ที่ 4 ด้วยคอนเซ็ปต์ “นวัตกรรมศิลป์ สู่โรงภาพยนตร์” หรือ “Inno-Art Cinematic” จุดเปลี่ยนที่สำคัญ...ที่ทำให้ คุณวิชา ก้าวขึ้นทำเนียบการเป็นนักธุรกิจด้านบันเทิงได้อย่างเต็มตัว เมื่อเขาสามารถนำ “บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ จำกัด” เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นหุ้นรายแรกและรายเดียวในตลาดหลักทรัพย์ฯ

ในฐานะนักบริหารที่ประสบความสำเร็จ และจัดว่ามีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงไม่น้อย คุณวิชายอมรับเพียงแค่ว่า เขาเป็นเพียงผู้มีส่วนผลักดันอุตสาหกรรมให้เติบโตขึ้นค่อนข้างมากเท่านั้น โดยอธิบายเหตุผลว่า “การทำธุรกิจโรงภาพยนตร์ ถ้าหากมีจำนวนโรงภาพยนตร์มาก หนังก็มีโอกาสทำเงินได้มากขึ้น คนดูจะมีไลฟ์สไตล์และความสะดวกสบายมากขึ้น และมองในเชิงภาพรวมอุตสาหกรรม มันคือ “โอกาส” ที่เติบโตอีกมาก ซึ่งผมเชื่อว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ดูหนัง ผมทำงานมีเป้าหมายเป็น Growth Company บริษัทที่มีการเติบโต และเมื่อบริษัทฯ เติบโตได้ อุตสาหกรรมก็เติบโต ที่สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นต่อไปอีก”

Source: http://www.newswit.com/news/2007-05-09/entertainment-business-award-2007/